ข้อควรปฏิบัติ

การเตรียมตัวก่อนการรักษา

การดูแลตนเองหลังการรักษา

   ภายหลังแพทย์ตรวจวินิจฉัยโรคแล้ว จะใช้เข็มชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ปักผิวหนังตรงจุดฝังเข็มตามอาการของโรค การรักษาควรทำต่อเนื่องและซ้ำ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ จำนวนครั้งของการรักษาขึ้นกับชนิดและความรุนแรงของโรค 

  ระหว่างการฝังเข็ม ผู้ป่วยอาจเกิดความรู้สึกรู้สึกหนักๆ หน่วงๆ ตื้อๆ ในจุดที่เข็มปักคาอยู่ หรือ อาจรู้สึกเหมือนมีกระแสไฟฟ้าแล่นแปลบๆ เนื่องจากแพทย์จะฝังเข็มข้างๆเส้นประสาทบางเส้น

   เพื่อผลการรักษาที่ดี จะคาเข็มไว้ 20-30 นาที โดยอาจกระตุ้นด้วยมือ อบความร้อน หรือกระตุ้นด้วยไฟฟ้า (ไฟฟ้าที่ใช้มีความต่างศักย์ต่ำ จึงไม่มีโอกาสเกิดไฟช๊อตจนเกิดอันตราย)

   เมื่อฝังเข็มเรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยต้องพยายามอย่าขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ฝังเข็ม เพราะเข็มจะบิด แม้ไม่เกิดอันตรายแต่อาจทำให้เจ็บมากขึ้น 

  บางครั้งหลังจากถอนเข็ม อาจมีเลือดซึมใต้ผิวหนังเกิดเป็นรอยช้ำ พบได้ในตำแหน่งที่มีเส้นเลือดฝอยมาก มักไม่มีอันตรายหรือผลข้างเคียงใดๆ รอยช้ำจะจางลงและหายได้เองในเวลาไม่กี่วัน 

Visitors: 14,132